วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประมวลรายวิชาวิทยาศาสตร์

ประมวลรายวิชาวิทยาศาสตร์ (course syllabus)
ครูผู้สอน ครูสุริสา ไวแสน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2552
รหัสวิชา ว 21101 รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
เวลาเรียน 3 คาบ / สัปดาห์ / ปี จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ลักษณะวิชา วิชาพื้นฐาน
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาวิเคราะห์ปริมาณทางกายภาพ ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว ความเร็ว แรงลัพธ์ อุณหภูมิและการวัด การถ่ายโอนพลังงานความร้อน การดูดคลื่นแสงและการคายความร้อน บรรยากาศ และปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ การพยากรณ์อากาศและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
จุดประสงค์รายวิชา
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์
2. ทดลองและอธิบายว่าแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ หลักการของแรงเสียดทาน หลักการของโมเมนต์ของแรงในเชิงปริมาณและแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกัน
3. วิเคราะห์แรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ การเพิ่มหรือการลดแรงเสียดทานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ต่าง ๆ
4. วิเคราะห์และคำนวณโมเมนต์ของแรงในสถานการณ์ต่าง ๆ อธิบายและยกตัวอย่างการนำหลักการของโมเมนต์ของแรงไปใช้ประโยชน์
5. สำรวจ สังเกต และระบุการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ และอธิบายผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
6. ทดลองและอธิบายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
7. สังเกตและอธิบายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
8. อธิบายการดูดกลืน การคายความร้อนโดยการแผ่รังสีและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
9. อธิบายสมดุลความร้อนและผลของความร้อนต่อการขยายตัวของสารและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10. สืบค้นและอธิบายองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก
11. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์
12. สืบค้น วิเคราะห์และอธิบายผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
13. สืบค้น วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก รูโหว่โอโซนและฝนกรด
14. สืบค้น วิเคราะห์และอธิบายผลของภาวะโลกร้อน รูโหว่ โอโซนและฝนกรดที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
หน่วยการเรียนรู้
1. การเคลื่อนที่และตำแหน่งของวัตถุ
1.1 การเคลื่อนที่ของวัตถุ
1.2 ตำแหน่งของวัตถุ
1.3 ความเร็วและอัตราเร็วของวัตถุ
2. แรงที่กระทำต่อวัตถุ
2.1 ขนาดและทิศทางของแรง
2.2 แรงโน้มถ่วงของโลก
2.3 แรงเสียดทาน
2.4 งานและกำลัง
2.5 โมเมนต์ของแรง
2.6 ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ
3. พลังงานความร้อน
3.1 การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
3.2 ผลของพลังงานความร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ
4. บรรยากาศของเรา
4.1 อุณหภูมิของอากาศ
4.2 ความดันอากาศ
4.3 ความชื้นของอากาศ เมฆ และฝน
5. ลมฟ้าอากาศ
5.1 พายุฝนฟ้าคะนอง
5.2 พายุหมุนเขตร้อน
5.3 มรสุม
5.4 ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ
5.5 การพยากรณ์อากาศ
วิธีการสอน
1. การบรรยาย
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การแบ่งกลุ่มค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอ
4. การใช้สื่อผสม เช่น วีดิทัศน์ แผ่นภาพ วีดีโอ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
การวัด และประเมินผล

การวัดและประเมินผลในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประเมินผลเป็นรายภาค
แบ่งเป็น คะแนนเก็บ กับ คะแนนสอบ = 70 : 30 ซึ่งแบ่งคะแนนเป็นดังนี้
ส่งงาน
- สมุด 10 คะแนน
- เอกสาร 20 คะแนน
- รายงาน 10 คะแนน
สอบย่อย 20 คะแนน
สอบกลางภาค 15 คะแนน
สอบปลายภาค 15 คะแนน
จิตพิสัย 10 คะแนน
รวม 100 คะแนน
กำหนดการให้ระดับคะแนนดังนี้
คะแนนอยู่ในระดับดีเยี่ยม (80-100) 4.0
คะแนนอยู่ในระดับดีมาก (75-79) 3.5
คะแนนอยู่ในระดับดี (70-74) 3.0
คะแนนอยู่ในระดับค่อนข้างดี (65-69) 2.5
คะแนนอยู่ในระดับน่าพอใจ (60-69) 2.0
คะแนนอยู่ในระดับพอใช้ (55-59) 1.5
คะแนนอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (50-54) 1.0
คะแนนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ (0-49) 0
เอกสารอ้างอิงและเอกสารประกอบการสอน
1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ , 2552 .
2. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ , 2552 .
3. ชานนท์ มูลวรรณ และ สุพจน์ แสงมณี . วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ( ม.1 – ม.3 ) . กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545
4. สมโภค สุขอนันต์ และ สามารถ พงษ์ไพบูลย์ . วิทยาศาสตร์ ม. 1 . กรุงเทพฯ , 2534 .
5. พจมาน หวังสันติวงศา . วิทยาศาสตร์ ม.1 . กรุงเทพฯ .
4. บัณฑิตแนะแนว . TOPวิทยาศาสตร์ ม.1 . กรุงเทพฯ : บัณฑิตแนะแนว

0 ความคิดเห็น: